ชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันกับสายน้ำมานานเพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญของชีวิต ในการใช้สอย ดื่มกิน และสัญจรไปมา จนกระทั่งการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลัก ของคนไทยสังเกตุได้จากการตั้งราชธานีทุกแห่งจะอยู่ม่ไกลจากแม่น้ำสายใหญ่ จึงทำ ให้เกิดประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายน้ำขึ้น เช่น ประเพณีการแข่งเรือ ซึ่งมักจัดขึ้น พร้อม ๆกันทั่วทั้งประเทศ ในราว ๆเดือนกันยายนไปจนถึงต้นเดือนตุลาคม ประเพณีแข่งเรือล้านนา จะถูกจัดขึ้น ณ ลำน้ำน่านทุกปี ในระยะหลังเทศกาล ออกพรรษาประมาณปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายนนอกจากเพื่อความ สนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเชื่อมความสามัคคีแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีการแข่งเรือแบบล้านนาในงานจะมีการแข่งขันเรือหลายประเภทคือเรือใหญ่ เรือกลาง และเรือ สวยงาม โดยเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องแต่งหัวเรือเป็นรูปพญา นาค เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือแข่งจังหวัดน่าน นอกจากนั้นจะมีการตีฆ้องล่อง น่าน- ตีตานแข่งเรือ ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัดน่านด้วย แข่งเรือพิจิตร สนามแข่งเรือคือแม่น้ำยมเมืองพิจิตร เป็นงานแข่งเรือที่ยิ่ง ใหญ่เพราะจะรวมเรือดีมีฝีมือ จากภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง เข้ามาร่วมงาน อย่างคับคั่ง แต่เรือที่ใช้แข่งไม่ประดับตกแต่งสวยงามเหมือนประเพณีแข่งเรือของ จังหวัดน่าน ส่วนทางภาคอีสาน มีการแข่งเรือประเพณีพิมายในลำน้ำจักราช งานแข่งเรือ ประเพณีจังหวัดบุรีรัมย์ในลำน้ำมูล และประเพณีแข่งเรือไทย - ลาว ทำการแข่งในลำ น้ำโขง มีลักษณะเฉพาะและมีระยะทางไกล ฝีพายที่พายเรือต้องมีพลกำลังและมีความ เชี่ยวชาญในการพายเรืออย่างมาก ทางภาคใต้ ประเพณีการแข่งเรือที่ใหญ่ที่สุด คือ ประเพณีการแข่งเรือกอและ ของชาวจังหวัดนราธิวาส เรือกอและเป็นเรือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ หัวแหลม ท้ายแหลม หรือ หัวแหลมท้ายตัด เป็นเรื่อที่ใช้ในการทำประมงพื้นบ้านชายฝั่งได้เป็น อย่างดี นิยมใช้กันในหมู่ชาวประมงมุสลิม เมื่อถึงๆดูน้ำหลากก็จะนำเรือกอและมาแข่ง ขันกันโดยใช้ระบบชิงธง คือให้คู่แข่งขันพายเรือเข้าหาเส้นชัยที่มีธงปักว้ ใครชิงธงมา ได้ก่อนก็จะเป็นผู้ชนะ